top of page

ประเมินอนาคตแบรนด์ ด้วย Brand Future Evaluation: BFE


Brand Future Evaluation: BFE การสร้างอัตลักษณ์แบรนด์ที่ดี เปรียบเหมือนการวางเสาเข็ม สร้างรากฐานให้ธุรกิจมั่นคงในระยะยาว เพราะแบรนด์ที่ดีเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงสุด แม้จะจับต้องไม่ได้ แต่แบรนด์ที่ผ่านกระบวนการคิดสร้างสรรค์อย่างพิถีพิถันนั้นสามารถต่อยอดความเป็นไปได้ใหม่ๆ ได้เสมอ

โมเดลการประเมินอนาคตแบรนด์ (BFE: Brand Future Evaluation) จาก Baramizi Consultant นำปัจจัยหลากหลายมุมมองมาใช้ประเมินความเป็นไปได้ของแบรนด์ด้วย 6 ปัจจัยหลัก


เครื่องมือประเมินสุขภาพและมูลค่าแบรนด์ (BFV: Brand Future Valuation) ผสานองค์ความรู้เชิงทฤษฎีจากนักวิจัยด้านการประเมินแบรนด์ กับประสบการณ์จริงด้านการสร้างแบรนด์ของ บารามีซี่ กรุ๊ป เราถอดรหัสปัจจัยสำคัญที่เป็นหัวใจความสำเร็จของแบรนด์ยุค 4.0


สิ่งที่จะปูทางแบรนด์สู่ความสําเร็จในโลกยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วอย่างยั่งยืน


-- ปัจจัยภายใน

1. ภาพลักษณ์แบรนด์ในองค์กร (Internal Branding)

วัฒนธรรมภายในองค์กร เป็นสิ่งที่โอบล้อมทุกคนในองค์กรเข้าไว้ด้วยกัน นับเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งต่ออนาคตของแบรนด์ เพื่อให้จิตวิญญาณ วิสัยทัศน์จากผู้บริหาร ผู้ร่วมก่อตั้ง เกิดการส่งต่อผ่านระบบการจัดการทรัพยากรบุคคลที่เข้มแข็ง ถ่ายทอดไปทุกระดับ

สิ่งนี้ไม่ใช่เพียงถ้อยคำที่พิมพ์กำหนดไว้บนกระดาษ แต่จำเป็นจะต้องเป็นประสบการณ์ที่คนในองค์กรสัมผัสได้ แทรกซึมอยู่ในระบบการการคัดเลือกพนักงานที่มีแนวคิด และทัศนคติไปในทางเดียวกับแบรนด์ กระบวนการทำงาน กระบวนการคิดสิ่งใหม่ๆ ไปจนถึงประสบการณ์ในชีวิตประจำวันของพนักงาน

2. ความยั่งยืน (Sustainability)

กระบวนการผลิตสินค้าและบริการของธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องคำนึงถึงความยั่งยืนของห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายสุด รวมถึงการปรับตัวให้สอดคล้องกับโลกยุคใหม่ที่การเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอย่างก้าวกระโดด และเต็มไปด้วยความผันผวน แต่ยังคงความสามารถในการควบคุมคุณภาพได้ง่าย และขยายสเกลของธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง


3. ผลการดำเนินงานทางการเงิน (Financial Performance)

ปัจจัยภายในที่สำคัญไม่แพ้ประสบการณ์ของพนักงานและกระบวนการที่ยั่งยืน ก็คือผลประกอบการ ไม่ว่าจะเป็นยอดขาย กำไร อัตราผลตอบแทนจากส่วนของเจ้าของ (Return On Equity : ROE) ซึ่งจะสามารถตีค่าเป็นแนวโน้มธุรกิจในอนาคตร่วมด้วยได้อย่างชัดเจน และมีประสิทธิภาพ


--


ปัจจัยภายนอก

1. การออกแบบที่ทรงพลัง (Power of Design)

งานออกแบบที่ดีเปลี่ยนชีวิตผู้คนมาทุกยุคทุกสมัย การสร้างอัตลักษณ์แบรนด์ที่มอบประสบการณ์ที่แตกต่างจากคู่แข่ง ถ่ายทอดสุนทรียะผ่านผัสสะทั้ง 5 ที่ทั้งตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มลูกค้าและมีความเป็นสากลที่เข้าใจได้ง่าย ใช้งานง่าย ซับซ้อนที่ไอเดียแต่สื่อสารกับผู้คนในวงกว้างได้อย่างเข้าใจความเป็นมนุษย์ ตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับพลังการออกแบบที่ส่งผลต่อธุรกิจคือ Apple ที่ให้ความสำคัญกับมิติการออกแบบที่ Think Difference ทั้งตัวผลิตภัณฑ์และซอฟต์แวร์ บรรจุภัณฑ์ หน้าตาเว็บไซต์ สื่อโฆษณา ไปจนถึงประสบการณ์ของลูกค้าเมื่อก้าวเข้าไปใช้บริการ Apple Store

2. คุณค่าที่ลูกค้าต้องการ (Customer Value)

คุณค่าแบรนด์ต้องสอดคล้องกับความต้องการกลุ่มเป้าหมาย และแตกต่างจากคู่แข่งอื่นๆ ในตลาด นอกจากประโยชน์ใช้สอยที่ตอบโจทย์การใช้งานพื้นฐานแล้ว คุณค่าที่ตอบสนองอารมณ์ความรู้สึกของกลุ่มเป้าหมาย ไปจนถึงคุณค่าทางจิตวิญญาณที่มีความพิเศษและแตกต่างในระดับความคิด ความเชื่อ ที่ลูกค้ามีอยู่หรือต้องการจะไปให้ถึง

3. Super Fans

สิ่งที่เงินซื้อไม่ได้ แต่การมีภาพลักษณ์แบรนด์ที่ดีทำให้เกิดขึ้นได้ ก็คือ แฟนตัวยง หรือ ซูเปอร์แฟนที่พร้อมจะช่วยโปรโมตสินค้าใหม่ ชวนให้คนใกล้ตัวมาลองใช้บริการแบรนด์ที่พวกเขาตกหลุมรัก ทั้งยังคอยปกป้องแบรนด์เมื่อเกิดความเข้าใจผิดหรือดราม่าต่างๆ ซูเปอร์แฟนจึงเป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับการสร้างแบรนด์ในยุคปัจจุบัน

ความรักที่ซูเปอร์แฟนมีต่อแบรนด์นั้นมีหลากหลายตัวชี้วัดที่แตกต่างกันไปดังนี้ ระดับความเป็นซูเปอร์แฟน (Super Fans Index) ระดับความเป็นตัวแทนช่วยโปรโมตแบรนด์ (Score Net Promoter Index) ระดับความเป็นผู้อุปถัมภ์แบรนด์ (Brand Patron Index) ระดับความเป็นผู้ปกป้องแบรนด์ (Brand Guardian Index) ระดับความศรัทธาต่อแบรนด์ (Brand Faith Index)


แหล่งอ้างอิง: Baramizi ศูนย์สร้างสรรค์กลยุทธ์และประเมินมูลค่าแบรนด์


ลองสำรวจว่าปัจจัยเหล่านี้ในธุรกิจของคุณเป็นอย่างไร หรือหากธุรกิจใหม่ที่กำลังวางแผนมีปัจจัยเหล่านี้ครบถ้วนหรือไม่ อย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่แบรนด์จำเป็นต้องนำมาใช้สำหรับคำนวณหาค่าดัชนี BFE Index แล้วจะนําไปใช้คำนวณค่า BFV (Brand Future Valuation) หรือมูลค่าของแบรนด์ที่แสดงออกมาเป็นตัวเงินได้ต่อไป


หากคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่อยากลงลึกเรียนรู้เรื่องภาพลักษณ์แบรนด์กับกูรูตัวจริง ลองลงมือสร้างแบรนด์ใหม่ให้ยั่งยืน เสริมแบรนด์เดิมให้เข้มแข็ง มาพบกับองค์ความรู้ดี ๆ ได้ที่หลักสูตร Mini MBA - Digital Branding Management หลักสูตรการบริหารแบรนด์ดิจิทัล รุ่น 2 อ่านรายละเอียดต่อได้ที่ https://www.neobycmmu.com/mini-mba-digital-branding


-----


อ้างอิง

กลยุทธ์การสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ (Brand image) https://www.dbd.go.th/download/article/article_20201223141419.pdf


527 views0 comments
bottom of page